วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์

เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ให้บริการสุขภาพได้มาตรฐาน บริการประทับใจ เครือข่ายสุขภาพเข้มแข็ง

ดูแลสุขภาพได้มาตรฐาน หมายถึงกระบวนการดูแลสุขภาพทั้ง 4 มิติ (ด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาพ) ตามมาตรฐานวิชาชีพ

 บริการประทับใจ หมายถึง การทำให้ผู้ป่วยรู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างมากเมื่อมารับบริการ มีความต้องการกลับมารักษาที่โรงพยาบาลธวัชบุรีเมื่อเกิดความเจ็บป่วย และเมื่อผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจะมีแนวโน้มที่จะรับบริการอย่างสุภาพด้วยเช่นกัน

             เครือข่ายสุขภาพเข้มแข็ง หมายถึง องค์กรทั้งในและนอก ระบบสาธารณสุขที่ร่วมกันดำเนินงานด้านสุขภาพ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล (รพ.สต) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) วัด โรงเรียน หน่วยงานเอกชน ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน

 พันธกิจ :

  1. พัฒนาระบบริการสุขภาพให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
  2. ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่าย ให้มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ
  3. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ค่านิยมหลัก :

                   “ P A T I S ”

  • P= People Centered / ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

หมายถึง ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการทำงานเพื่อประโยชน์อันดีแก่ประชาชน โดยใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้

  • A= Adaptability / ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

หมายถึง การที่บุคคลมีสมรรถนะในการยืดหยุ่นและปรับตัวต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Digital disruption)

  • T= Team work / การทำงานเป็นทีม

หมายถึง การทำงานร่วมกันของบุคลากร เพื่อส่งเสริมกระตุ้นการมีส่วนร่วมให้เกิดประสิทธิภาพและเป้าหมายร่วมกัน

  • I = Information technology / เทคโนโลยีสารสนเทศ

หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็วโดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร

  • S= ความปลอดภัย (Safety) / ความปลอดภัย

หมายถึง ร่างกายของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานปราศจากภัยหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงการไม่มีโรคที่เกิดจากการทำงาน นอกจากร่างกายแล้วความปลอดภัยยังร่วมไปถึงทรัพย์สินต่างๆ อีกด้วย ซึ่งความปลอดภัยนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่บุคลากรทุกคนควรได้รับ โดยความปลอดภัยในที่ทำงานจะมากหรือน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่กับมาตรฐานรักษาความปลอดภัยขององค์กรเพียงเท่านั้น แต่ทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทั้งตนเองและส่วนรวม

ยุทธศาสตร์

  1. สร้างเสริมสุขภาพ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมประชากรทุกกลุ่มวัย
  2. พัฒนา และจัดระบบบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ครอบคลุม และระบบส่งต่อที่ไร้รอยต่อ
  3. พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และภาคีเครือข่าย
  4. พัฒนาระบบบริหารจัดดการ ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ด้วยหลักธรรมมาภิบาล เพื่อสนับสนุนบริการ พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะ มีความสุขในการทำงาน

เข็มมุ่ง 1 ปี

  1. ลดข้อร้องเรียนด้านพฤติกรรมบริการ
  2. พัฒนาระบบการจัดการขยะติดเชื้อ
  3. คุณภาพน้ำทิ้งก่อนลงสู่ชุมชนได้มาตรฐาน
  4. การควบคุมระดับเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
  5. ภาคีเครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน

ยุทธ์ศาสตร์

  1. พัฒนาบุคลากรให้เก่ง ดี มีสุข
  2. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  3. พัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่องทั้งองค์กร
  4. สร้างเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย